สัปดาห์ที่ 38 (37 สัปดาห์ 6 วัน) คลอดน้องนเดล
14/02/2015
แม่น้ำหนัก 61 kg.
ปกติหมอจะนัดทุกวันอาทิตย์ แต่อาทิตย์นี้แฟนมีธุระ
ก็เลยมาตรวจวันเสาร์แทน (วันวาเลนไทน์พอดีเลย ฮ่าๆ)
มาถึงก็วัดความดันอะไรตามปกติ
แล้วก็ไปทำ NST ต่อ แต่ปรากฏว่าหัวใจน้องเต้นช้าลง
มีบางครั้งต่ำกว่าเกณฑ์ด้วย หมอเลยให้ซาวด์ดู ก็เห็นน้ำคร่ำ
เริ่มแห้งแล้ว หมอบอกว่ายังไงก็ต้องคลอดวันนี้แหละ
ให้เลือกว่าจะคลอดเองหรือผ่าคลอด ถ้าปล่อยไว้ก็อันตราย
ตรวจปากมดลูก เปิด 2 เซนแล้ว จริงๆหมอแนะนำให้ผ่าคลอด
เพราะถ้าใช้ยาเร่งคลอด แล้วมดลูกบีบตัว หัวใจน้องอาจจะตกลง
อีกได้ แต่เราตั้งใจว่าจะคลอดเอง เลยขอคุณหมอใช้ยาเร่งคลอด
เผื่อคลอดเองดูก่อน
พอตัดสินใจจะคลอดวันนี้แล้ว เราก็เลือกห้องพักฟื้น วันนี้เป็นวัน
วาเลนไทน์ชั้น6 ซึ่งเป็นชั้นเดียวกับแผนกเนิสเซอรี่เด็ก ห้องเต็ม
เราเลยต้องไปอยู่ชั้น 8 เวลาจะมาหาลูกก็ต้องลงลิฟท์มา
ลำบากเพิ่มนิดหน่อย แต่ก็ไม่มีทางเลือกแล้ว ห้องเต็มจริงๆ เง้อ
แล้วเราก็ให้แฟนกลับบ้านไปเอากระเป๋าที่เราเตรียมไว้ พวกเสื้อผ้า
ของใช้เรากะน้องตอนกลับบ้าน ให้แฟนเตรียมเสื้อผ้ามาค้างกับเรา
ด้วย 3 คืน
การคลอดที่โรงพยาบาลวิภาราม ถ้าตัดสินใจคลอดเอง
ก็จะถูกพาไปที่ชั้น 6 ที่ห้องรอคลอด
เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดโรงพยาบาล สักพักพยาบาลก็จะเข้ามา
ทำโกนขนบริเวณอวัยวะเพศออกเกลี้ยงเลย หลังจากนั้นก็
จะเป็นการสวนอุจจาระ ความรู้สึกคือ มีน้ำเข้ามาทางตูดปริมาณหนึ่ง
จากนั้นก็จะเริ่มปวดอึ แล้วก็สบายแร่ะ คือ ถ่ายจนหมดไส้หมดพุง
เสร็จขั้นตอนนี้ก็คือ ให้ยาเร่งคลอดผ่านทางน้ำเกลือ
หลังจากให้ยาเร่งคลอดประมาณ 15 นาที หัวใจน้องดรอปลงไป
กว่าตอนเดิมอีก หมอสูติฯเรากับหมอประจำห้องคลอด
ลงความเห็นว่าต้องผ่าตัดฉุกเฉินทันที เพราะเป็นอันตรายก้บน้อง
จากนั้นเราก็ถูกพาไปที่ห้องผ่าตัด(ชั้น4)
ที่ห้องผ่าตัด (ก่อนผ่าตัดงดน้ำและอาหาร 6 ชม.นะ)
วิธีระงับความเจ็บปวดจากการผ่าตัดคลอด
คือ การบล็อกหลัง ความรู้สึกก็เจ็บเหมือนกัน แต่มันเจ็บแปปเดียว
ก็หายไป คือหมอวิสัญญีเค้าจะให้เรานอนงอเข่าให้หัวเข่าแตะศรีษะ
จากนั้นก็จะฉีดยาเข้ามาทางไขสันหลัง ฉีดอยู่ประมาณ 4-5ครั้ง
ไล่จากข้างล่างขึ้นข้างบน จากนั้นผ่านไปสัก 5 นาที ก็เสร็จ
แล้วก็ไม่รู้สึกอะไรแล้วตั้งแต่ช่วงกลางลำตัวลงมาแล้ว
จากนั้น หมอก็เอาผ้ามาปิด แล้วก็คงลงมือผ่า เราเองก็รู้สึกตัว
อยู่ตลอด หมอก็ถามว่าเจ็บไหม เราก็ไม่เจ็บ ผ่านไปแปปเดียว
น่าจะประมาณ 20 นาที ก็ได้ยินเสียงลูกร้องแล้ว
ออกมาน้ำหนัก 2850 กรัม ร้องดังมากๆ
พอพยาบาลทำความสะอาดตัวน้องเรียบร้อย เค้าก็อุ้มมาวางข้างๆ
ให้ดูหน้า ให้จุ๊บน้องด้วย อิอิ เราก็ยังงงๆอยู่เลย เอ๊าเสร็จแล้วหรอ
เอ๊าลูกออกมาแล้วหรอ ยังไม่รู้สึกเจ็บอะไรเลย จากนั้น
เค้าก็พาน้องออกไป (แฟนเรากับพ่อเรารออยู่หน้าห้องผ่าตัด)
หมอก็เย็บแผลให้เรา แปปเดียวก็เสร็จแล้ว จากนั้นก็มานอนรออยู่
ห้องพักฟื้นติดห้องผ่าตัด ประมาณ 2 ชม. เย็บแผลเรียบร้อย
เราก็ไม่รู้สึกตัวเลย ตอนแรกคิดว่านอนอยู่บนอะไรนิ่มๆ
จับขาตัวเอง ตอนแรกไม่รู้เลยว่าเป็นขา
พอดูอาการเรียบร้องเค้าก็พามาหาน้องที่ห้องเนิสเซอรี่
เห็นหน้าลูกผ่านตู้กระจก -*- แฟนบอกหน้าเหมือนเรา
จมูกนี่เหมือนมากๆเลย โด่งๆใหญ่ๆ ฮ่าๆๆๆ ดีใจใหญ่เลยนะ
ลูกหน้าเหมือนเรา ก็ถ่ายรูปกับลูกผ่านตู้กระจก ตลกอ่ะ
ตอนนั้นเราถูกเข็นมาหาลูกนะ นอนอยู่บนเตียง พูดคุยกะทุกคน
ยังไม่รู้สึกเจ็บอะไรเลย เรียบร้อยแล้วก็ไปพักฟื้นที่ห้องที่เราจองไว้
พอยาชาหมดฤทธิ์ คราวนี้ได้เรื่องแล้ว เจ็บปวดทรมาน
ยิ่งตกกลางคืนนะ แทบไม่ได้นอนเลย ปวดตลอด
ฉีดมอร์ฟีนไป 2 รอบ ฉีดเสร็จรู้สึกสบายขึ้น แบบมันเคลิ้มๆ
ที่ปวดๆอยู่ก็ทุเลาไป สมองว่างๆ ได้หลับก็ตอนนี้แหละ
หลับไปชม.หนึ่งได้ แล้วก็ตื่นอีก เจ็บแผลมาก ปวดมากๆ
ไม่เคยเจ็บปวดอะไรแบบนี้มาก่อน แผลผ่าตัดนี่ คือ
ความเจ็บปวดที่สุดของชีวิตแล้วอ่ะ สรุปคือ นอนอยู่บนเตียง
มีสายสวนปัสสาวะอยู่ 1 วัน ไม่ได้ลุกไปไหนเลย
พอวันที่สองถึงเริ่มลุกไปเข้าห้องน้ำได้ แต่กว่าจะลุกได้ก็เป็นชม.นะ
เพราะเปลี่ยนจากท่านอนเป็นท่านั่ง แผลมันก็ยืดหยุ่นอ่ะ
ลุกครั้งแรกหลังผ่าตัด เจ็บทรมานสุดๆ เจ็บจนไม่อยากมีลูกอีกแล้ว
T_T พอวันที่สามก็ใส่สเตย์รัดหน้าท้อง ช่วยพยุงแผลผ่าตัด
ทำให้เดินเหินสะดวกขึ้น ปวดน้อยลง
พูดถึงลูกเราบ้าง คือ เราเจ็บแผลจนไปหาลูกไม่ไหวเลยเป็นวัน
วันที่สองก็ทำได้แค่นั่งรถเข็นลงไปดูลูกครั้งเดียว มันเจ็บแผล
จนไม่เป็นอันทำอะไร
***ลูกเราต้องอยู่ห้อง NICU คือ ห้องICUของเด็กอ่ะ เห็นลูกครั้งแรก
น้ำตาแทบไหล สายอะไรต่อมิอะไรเต็มไปหมด
หมอบอกว่า น้องกินน้ำคร่ำเข้าไป
เกิดมาแล้วหายใจเร็ว พอเอกซเรย์ดูปอดก็มีจุดขาวๆ
ซึ่งอาจเป็นน่ำคร่ำที่อยู่ในปอด
แนวทางรักษาคือ หมอให้ยาฆ่าเชื้อ ให้เลือด ให้น้ำเกลือ
ภายใน24 ชม.ตั้งแต่ออกมาเลย
แล้วก็มีการให้อาหารทางสายยางด้วย
แม่อยากบอกลูกว่า
ลูกของแม่เก่งมากๆ แม่ภูมิใจในตัวหนูมาก
หนูแข็งแรงหายไวเลยนะ แม่ดีใจจริงๆ
วันที่สามที่เริ่มไปให้นมลูก พยาบาลสอนอุ้ม
สอนเช็ดสะดือ สอนให้นมลูก
ขนาดหนูมีสายอาหารอยู่ที่ปาก หนูยังดูดนมแม่เป็นเลย
หนูกินเก่งมาก ป้อนนมจากขวดก็กิน ป้อนจากสลิ้งก็กิน
ป้อนผ่านทางสายอาหารหนูก็กิน ^^
ระบบย่อยอาหารหนูดี ทำให้ย่อยนมได้
วันที่สาม ลูกตัวเหลืองเลยต้องอยู่ในตู้อบส่องไฟ
แต่ในที่สุดวันที่สี่ เราก็ได้กลับบ้านพร้อมกัน
แม่จะดูแลหนูให้ดีที่สุดนะ ลูกรัก กลับบ้านเราแล้วนะ :)
ปล. หมอบอกว่าอาการที่น้องนเดลเป็น ก็มีเด็กหลายคน
เป็นกันเยอะ(เราเห็นมีเด็กอีก3-4คนที่อยู่ห้อง NICU)
สาเหตุที่เป็นไม่แน่นอน หมอสันนิษฐานว่าแม่พักผ่อนน้อย
นอนดึก เครียด -*- เออ ไม่ได้จะว่าอะไรนะคุณหมอ
แต่ว่าหายใจเร็วนี่เกิดจากแม่หรอ เรายอมรับ
ว่าอาจมีนอนดึกบ้าง แต่นอนครบ 8ชม.ทุกวันนะ
บางวันก็มีนอนกลางวัน เครียดนี่แทบไม่มีเลย เราอารมณ์ดีมาก
ตอนท้องน้องนเดล เปิดเพลงคลาสสิคให้ลูกฟังทุกวัน
คุยกับน้องทุกวัน
ปล.หลังจากกลับบ้านไป 1 สัปดาห์ หมอนัดมาตรวจอีกครั้ง
อัตราการเต้นของหัวใจก็ปกติ อาการตัวเหลืองก็ดีขึ้นเรื่อยๆ
เกือบหายไป และจะหายไปเองภายในอีกไม่กี่วัน
ที่สำคัญ น้องนเดลกินนมแม่เก่งมากๆค้า ^^
หาข้อมูลมาแปะ
เรื่องการหายใจเร็วในเด็กแรกเกิด
ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด (Transient Tachypnea of the Newborn) หมายถึงภาวะหายใจเร็วที่เกิดจากการมีน้ําเหลืออยูในปอดมากกวาปกติหลังคลอด ทําใหตองใชเวลาในการดูดซึม ออกจากปอดนานขึ้น จึงเกิดอาการหายใจหอบใหเห็นไดในระยะแรกคลอด อาการหายใจหอบมักเกิดขึ้นหลังคลอด 1 ชั่วโมง และจะแสดงอาการภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด
ส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการการหายใจหอบและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อาจหายใจ 100 - 120 ครั้งตอนาที (หายใจปกติ 40 - 60 ครั้งตอนาที ) อาการจะรุนแรงที่สุดระหวาง 6 - 36 ชม. หลังคลอดและคอยๆลดลงเปนปกติภายใน 48 - 72 ชั่วโมง ทารกที่มีอาการรุนแรงอาจใชเวลา 5 - 7 วัน จึงกลับสูภาวะปกตินอกจากการหายใจหอบแลว อาจพบวามีอาการเขียว มีการดึงรั้งของผนังทรวงอกและมีเสียงคราง ตรวจหากาซในเลือดจะพบวามีกรดเกินจากการหายใจ (respiratoryacidosis) ภาวะคารบอนไดออกไซดเกินเล็กนอย ภาพรังสีปอดอาจพบฝาขาวในระยะแรก แตจะหายไปอยางรวดเร็ว
สาเหตุเกิดจากในขณะที่ใกลคลอด ของเหลวในปอดจะลดการผลิตลงพรอมกับเพิ่มการดูดซึมภายใตการควบคุมของฮอรโมนตางๆ เชน catecholamines , vasopressin และ corticosteroids กลไกการคลอดธรรมชาติจะทําใหทรวงอกถูกบีบ เกิดการดูดซึมของเหลวในปอด และการหายใจครั้งแรกทําใหลมเขามาแทนที่ของเหลวในปอด แตการคลอดโดยวิธีผาตัดคลอดทางหนาทอง ทารกจะไมมีโอกาสที่จะดูดซึมสารคัดหลั่งเหลานี้ จึงทําใหมีน้ําเหลือคาง
อยูในปอดมากกวาปกติหลังคลอด จึงตองใชเวลาในการดูดซึมออกจากปอดยาวนานขึ้น มีอาการหายใจหอบใหเห็นได
การรักษา ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดเปนภาวะที่มีการดําเนินโรคที่ไมรุนแรง และสามารถหายไดโดยการรักษาแบบประคับประคอง ซึ่งประกอบดวย การดูแลอุณหภูมิรางกายใหอยูในเกณฑปกติ การใหออกซิเจนที่มีความชื้นเพื่อแกไขภาวะเลือดขาดออกซิเจนและภาวะกรด ในระยะที่หายใจหอบมาก ตองงดใหอาหารทางปาก ใหน้ําทดแทน เพื่อใหปริมาณน้ําและอิเล็กโตรไลทเพียงพอ เมื่ออาการดีขึ้นแลวสามารถใหนมได ไมมีความจําเปนตองใหยาปฏิชีวนะ นอกจากมีหลักฐานสนับสนุนวา มีการติดเชื้อรวมดวยหรือมี ภาวะแทรกซอนในภายหลัง
ที่มา http://www.feelmom.com/post/206
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น